วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา

วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยามีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ช่วงเวลาที่บ้านเมืองรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ พอที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดวรรณคดีอยู่เฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนาและศิลปกรรมในรัชกาลสมด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทางวรรณคดีปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า แต่งมหาชาติคำหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕ตรงกับรัชกาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่วนลิลิตยวนพ่ายก็แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์นี้จึงอาจแต่งในรัชกาลของพระองค์ หรือภายหลังเพียงเล็กน้อย คือ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นอกจากนี้วรรณคดีสำคัญเรื่องอื่น ๆ เช่น ลิลิตพระลอ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศ-มาศและโคลงหริภุญชัย เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ และถ้อยคำที่ใช้ก็น่าเกิดสมัยร่วมหรือระยะเวลาใกลเคียงกับมหาชาติคำหลวงและลิลิตยวนพ่ายหลังจากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ บ้านเมืองไม่สงบสุขเนื่องจากการทำสงครามกับข้าศึกภายนอกและแตกสามัคคีภายในเป็นเหตุให้วรรณคดีว่างเว้นไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งศตวรรษ วรรณคดีเรื่องแรกที่ปรากฏหลักฐานหลังรัชกาลสมเด็จพระ-รามาธิปดีที่ ๒ คือ กาพย์มหาชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพระราชนิพนธ์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ ต่อจากนั้นประมาณ ๓๐ ปี บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสามารถเป็นรากฐานให้เกิดวรรณคดีได้อีกระยะเวลาหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศลักษณะวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น วรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมากวรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี่สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญได้แก่ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ ๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๒.ลิลิตยวนพ่าย ๓.มหาชาติคำหลวง วรรณคดีที่สันฐานว่าแต่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่ ๔.ลิลิตพระลอ ๕.โคลงกำสรวล ๖.โคลงทวาทศมาศ๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงอยุธยา สมเด็จฯกรมพระยาดำรวราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานส่าสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑เป็นเชื้อสายของพระเจ้าสิริชัยเชียงแสนแห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๗ ได้เป็นเจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ต่อมาเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งตำบลหนองโสน แขวงเมืองอโยธยา เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราว-ดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ๋ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัยนับแต่สถาปนาราชธานี ในรัชกาลนี้ได้รับวัฒนธรรมขอมและพราหมณ์เป็นอันมาก ภาษาไทยจึงเริ่มมีคำเขมรเข้ามาปะปนมากขึ้นมีการประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจปานกาล ตามแบบเขมร ซึ่งถ่ายทอดมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง ประวัติ ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลที่๔ ตามหลักฐานซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ "แทงพระแสงศรประลัยวาต" "แทงพระแสงศรอัคนิวาต" และ "แทงพระแสงศรพรหมมาสตร์"คำประพันธ์ที่ใช้คือโคลงห้าและร่ายโบราณหนังสือเรื่องนี้นับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของคนไทย ที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ ชื่อเรียกแต่เดิมว่า โองการแช่งน้ำบ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดเป็นวรรคตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้างสับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเจ้าอยู่หัว ทรงสอบทานและพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนใหม่ ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่ด้วย คำสันสกฤตมีมากกว่าคำบาลี ความมุ่งหมาย ใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.๒๔๗๕ เรื่องย่อ เนื้อเรื่องของลิลิตโองการแช่งน้ำแบ่งเป็น ๕ ส่วนด้วยกัน กล่าวคือ ๑. คำสดุดีเทพเจ้าทั้ง ๓ องค์ ในศาสนาพราหมณ์หรือตรีมูรติ ประกอบด้วยร่าย ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศรและพระพรหม ต่อมาเป็นเรื่องไฟล้างโลก การ สร้างโลก และการอภิเษกพระเจ้าแผ่นดิน ๒. การอัญเชิญพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มาเป็นพยานในพิธีซึ่งมีคติความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเรือน เทวดาชั้นต่าง ๆ และเทวดาอารักษณ์ ที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาจึงต้องเชิญมาเพื่อให้เป็นพยานและเป็นหูเป็นตามิให้ผู้คิดคดทรยศ ความเชื่อเรื่องเทวดา หรือเทพเจ้าต่าง ๆ นี้ เป็นคติพราหมณ์แต่มีคติทางพุทธมาเจือปนจากการอัญเชิญพระรัตนตรัยมาเป็นพยาน ๓. คำสาปแช่งต่อพระเจ้าแผ่นดินให้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งจากสัตว์ร้ายจากคมหอกคมดาบ ๔.คำอวยพรผู้ที่มีความจงรักภักดี คือเมื่อยังมีชีวิตอยู่ให้ได้รับความดีความชอบปูนบำเหน็จจากพระเจ้าแผ่นดิน ให้เจริญด้วยพร ๔ ประการ เมื่อตายไปให้เทวดานำขึ้นไปสู่สวรรค์เป็นต้น ๕. คำถวายพระพรต่อพระเจ้าแผ่นดิน เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มีพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน ตังอย่างข้อความบางตอน สรรเสริญพระนารายณ์ โอมสิทธิสธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วฤตยู เอางูปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุธมาขี่ส สี่ถือสังขืจักรคธารณีภีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททัคนียจรนายฯ แทงพระแสงศรปลัยวาดฯกล่าวถึงไฟประลัยกัลป์ นานเอนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักราพาฬเมื่อไหม้กล่าวถึงตรวันเจดอันพลุ่ง น้ำแล้วไข้อดหาย เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟวาบ จัตุราบบายแผ่นขว้ำชักไตรตรึงษ์เปนผ้า แลบล้ำสีลอง อัญเชิญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพรหม เทพยาดา และภูตผีปีศาจ เป็นพยานผู้ใดเภทจงคด ถือขันสรดใบพูตานเสียด มารเฟียดไททศพล ช่วยดู ธรรมารคประเตยก ช่วยดูอเนกกถ่องพระสงฆ์ช่วยดู ขุนหงษทองเกล้าสี่ ช่วยดู ฟ้าฟัดพรีใจยังดู ช่วยดู สี่ปวงผรีหาวแห่ง ช่วยดูฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู ผองผีกลางหาวแอ่น ช่วยดู ฟ้ากระแฉ่นเรืองผยอง ช่วยดู เจ้าผาดำสามเส้า ช่วยดู แสนผีพึงยอมเท้า เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดูฯ คำสาปแช่งผู้คิดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน จงเทพยดา ฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีศุขสวัสดิ์ เมื่อใดฯ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเป็นคำห้วนหนักแน่น เพื่อให้เกิดความน่าเคารพยำเกรง ความพรรณนาบางตอนละเอียดละออ เช่น ตอนกล่าวกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจก็สรรหามากล่าวไว้มากมายนอกจากนี้ยังใช้ถ้อยคำประเภทโคลงห้าและร่ายดั้น ซึ่งมีจังหวะลีลาไม่ราบรื่น สะดุดเป็นตอน ๆ ยิ่งเพิ่มความขลังขึ้นอีกเป็นอันมาก จึงนับได้ว่าลิลิตโองการแช่งน้ำเรื่องนี้แต่งได้เหมาะสมกับความมุ่งหมายสำหรับใช้อ่านหรือสวดในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งมีความสำคัญแก่การเพิ่มพูนพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วรรณคดีเรื่องนี้มีกำเนิดจากพระราชพิธีในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร และพราหมณ์อย่างชัดเจน สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงรับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระราชพิธีศรีสัจปานจากเขมรมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ของบ้านเมืองที่ต้องการสร้างอำนาจปกครองของพระเจ้าแผ่นดินและความมั่นคงของบ้านเมืองในระยะที่เพิ่งก่อสร้างราชอาณาจักร ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีพระราชพิธีศรีสัจปานกาล เนื่องจากกษัตริย์สุโขทัยทรงปกครองบ้านเมือบแบบพ่อปกครองลูก ถึงแม้หลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔๕ มีเนื้อความเกี่ยวกับการสบถสาบานระหว่างกษัตริย์สุโขทัยผู้เป็นหลานกับเจ้าเมืองน่านผู้ปู่ และถ้อยคำบางตอนคล้ายกับลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่ก็เป็นการสาบานระหว่างบุคคลเฉพาะกรณี ไม่ใช่พิธีทางราชการทั่วไปกระทำต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นการทั่วไปอย่างที่กรึงศรีอยุธยา อนึ่งข้อความนี้จารึกไว้ใน พ.ศ.๑๙๓๕ ซึ่งอาจเป็นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท)ตรงกับรัชการสมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงรีอยุธยา เป็นช่วงที่กรุงสุโขทัยเสียอิสระภาแก่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๒๑ ถ้าพระราชพิธีสัจ-ปานกาลเคยกระทำที่สุโขทัยก็จะต้องเป็นเวลาภายหลังที่กรุงสุโขทัยตกอยู่ในอำนาจปกครองและอิทธพลทางวัฒนธรรมของ กรุงศริอยุธยาแล้วความเชื่อและประเพณี พระราชพิธีตรีสัจจปานกาลเป็นพิธีพราหมณ์ เกิดจากความเชื่อเรื่องคำสัตย์สาบาน และความเชื่อเรื่องเทพเจ้า การล้างโลก การสร้างโลก ตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ประกอบกับความจำเป็นด้านการปกครองบ้านเมือง เนื่องจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นครั้งแรก ต้องการความซื่อสัตย์สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของบรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายทำให้ต้องมีพระราชพิธีดื่มน้ำสาบานตน การถือน้ำครั้งกรุงเก่ากระทำที่วัดศรีสรรเพชญ์ แล้วย้ายไปที่วิหารพระมงคลบพิตร เมื่อถือน้ำแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปกราบถวายบังคมทูลพระรูปพระเจ้าอู่ทอง แล้วพากันเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพร้อมกัน พิธีเริ่มโดยพระมหาราชครูเชิญพระขันหยก มีรูปพระนารายณ์ทรงศรตั้งอยู่กลางขัน แล้วกรมแสงหอกดาบเชิญพระแสงศรพรหมาสตร์ ประลัยวาต และอัคนิวาต ถอดฝักส่งให้พระครูอ่านโองการแช่งน้ำและชุบ (แทง) พระแสงศรองค์ละ ๓ ครั้ง เมื่อกล่าวถึงพระนารายณ์ แทงพระแสงศรปลัยวาต เมื่อกล่าวถึงพระอิศวร แทงพระแสงศรอัคนิวาต เมื่อกล่าวถึงพระพรหม แทงพระแสงสรพรหมมาสตร์ เมื่ออ่านโองการแช่งน้ำจบแล้ว พระอาลักษณ์อ่านคำประกาศสาบานตน แล้วกรมพระแสงหอกดาบเชิญพระแสงตามลำดับ พระมหาราชครูชุบพระแสงในหม้อและขันสาคร แล้วแจกน้ำให้ข้าราชการบริพารดื่ม๓.ลิลิตยวนพ่าย ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ ประวัติ สันนิษฐานแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ.๒๐๑๗ ซึ่งเป็นปีเสด็จศึกเชียงชื่น แต่ความเห็นอีกประการหนึ่งว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) เหตุที่ว่าลิลิตยวนพ่าย อาจแต่งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ ก็เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์พระองค์นี้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และทรงพระปรีชาสามารถทุนะบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองรอยพระราชบิดาก็เป็นได้ ความหมายของคำว่า “ลิลิต” พจพนานุกรมฉบับราชบัณฑิยสถาน 2525 (2538:735) ให้คำนิยามไว้ว่า “ คำประพันธ์ ซึ่งใช้โคลงและร่ายสัมผัสกัน” ในด้านเนื้อหาเป็นการสดุดีวีรกรรมพระมหากษัตริย์ คำว่า "ยวน" ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง "ชาวลานนา"คำ "ยวนพ่าย"หมายถึง "ชาวล้านาแพ้"เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายกล่าวชาวลานนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิตดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้นโคลงดั้นบาทกุญชร ร่ายดั้น ๒ บท และโคลงดั้นบทกุญชร ๓๖๕ บท ความมุ่งหมาย เพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น เรื่องย่อ ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง)เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับเชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมือวเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างข้อความบางตอนกล่าวถึงการแต่งยวนพ่าย สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤาคือคู่มาลาสวรรค ช่อช้อยเบญญาพิศาลแสดง เดอมกยรติพระฤาคือคุ่ไหมแส้งร้อย กึ่งกลางยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์สุราชเรื้อง รศธรรม์บรรหารยศยอยวน พ่ายฟ้าสมภารปราบปลยกัลป์ ทุกทวีปร้อยพิภพเหลื้องหล้า อยู่เย็น ร้อยเท้าวรมมรีบเข้า มาทูล ท่านนาถวายประทุมทองเปน ปิ่นเกล้าสํภารพ่อพยวสูรย โสภิตมอญแลยวนพ่ายเข้า ข่ายบร ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะเป็นวรรณคดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ แต่งขึ้นเนื่องจากความปลาบปลื้มยินดีในพระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์นั้น จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะมาจนทุกวันนี้ ยังสมบูรณ์หรือถูกแต่งเหมือนวรรณคดีบางเรื่อง ถ้อยคำที่ใช้ในโบราณและคำสันสกฤตส่วนมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำเหล่านี้ยังไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขจากคนชั้นหลัง จึงเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้านภาษาอย่างมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการรบทัพจับศึก แต่ลิลิตเรื่องนี้ก็ยังมีลักษณะวรรณคดีดีเด่นเพราะใช้ถ้อยคำไพเราะ โวหารพรรณนาที่ก่อให้เกิดจิตนาภาพ ให้อารมณ์ชื่นชมยินดีในบุญญาธิการของพระเจ้าแผ่นดิน และความรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีประเภทสดุดีความดีเด่นของลิลิตยวนพ่าย ทำให้กวีภายหลัวถือเป็นแบบอย่าง เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคุณค่าของเรื่องลิลิตยวนพ่าย1. ในด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีรุ่นหลัง ลิลิตยวนพ่ายมีอิทธิพลต่อนักกวีรุ่นหลังอย่างแน่นอน จะเห็นได้จาก ลิลิตตะเลงพ่าย ที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระปรทานุชิตชิโนรส๒2. ในด้านอักษรศาสตร์ ลิลิตยวนพ่านนับเป็นวรรณคดียอพระเกียรติเล่มแรก ที่เป็นบทกวี มีสำนวนโวหารไพเราะอย่างยิ่ง แต่ก็ยากที่จะเข้าใจเหมือนกัน เพราะเต็มไปด้วยศัพท์คำยาก3. ในด้านวิถีชีวิต ได้แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยอยุธยาว่านิยมยกย่องพระมหากษัตริย์ของตนและจงรักภักดียิ่งนัก ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติ4. ในด้านประวัติศาสตร์ ทำให้มองเห็น ได้รู้เรื่องราวเหตุการณ์ความเป็นไปในสมัยนั้น ไดรู้ถึงการทำสงครามระหว่างพระมหากษัตริย์ต่างเมืองกัน การรบซึ่งใช้ช้างและม้าเป็นพาหนะ และมีอาวุธด้วย ได้แลเห็นว่าชาติกว่าจะเป็นชาติมาได้ ต้องมีบาดแผลไม่น้อยเลย ชีวิตของชาติ ชีวิตของคนก็เช่นกัน๓.มหาชาติคำหลวง มหาชาติคำหลวงหรือที่คนไทยรู้จักกันดีว่า มหาเวสสันดรชาดก มีข้ออธิบายว่า หนังสือมหาชาติเดิมแต่งเป็นภาษามคธ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่น่าจะแปลเป็นไทยแต่ครั้งสมัยสุโขทัย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายเกี่ยวกับเรื่องน้ำไว้ว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้ประชุมปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๐๒๕ มีจำนวน ๑๓ กัณฑ์ และเสียหายไปตอนเสียกรุงเก่า ๖ กัณฑ์ คือ กัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ แต่พอถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ก็ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งส่วนที่ขาดหายไปจนครบ ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง เมื่อจุลศักราช ๘๔๔ พุทธศักราช ๒๐๒๕ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๒ หรือสามพระยา ก่อนเสวยราชย์ พระราชบิดาภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช และโปรดให้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจสิทธิ์ขาดในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับราชสมบัติสืบต่อพระราชบิดา ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทรงแก้ไขการปกครอง โดยแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน ฝ่ายทหารมีหัวหน้าเป็นสมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก ทรงตั้งยศข้าราชการลดลั่นกันตามชั้น เช่น ขุน หลวง พระยา พระ ทรงทำสงครามกับเชียงใหม่ ได้เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๐๑๗ เป็นเหตุให้เกิดลิลิตยวนพ่าย พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา เสด็จออกผนวชชั่วระยะหนึ่ง ที่วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก การทำนุบำรุงพระศาสนาในรัชกาลนี้ทำให้เกิดมหาชาติคำหลวง ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติคำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้ ๑.เป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง ๒.เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนาและศีลธรรม ๓.ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ๔.ใช้สวดเข้าทำนองหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดประดิษฐ์ขึ้นได้ ความมุ่งหมาย เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรมราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระเรื่อง เรื่องย่อ แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซึ่งเรียกว่ากัณฑ์ดังนี้ กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขพรรษ พระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องพระเวสสันชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ ๙๘ นับเป็นแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ่งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดรทรงอธิฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพระ ๑๐ ประการจากพระอินทร์ กัณฑ์หิมพานต์ พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญญชัยกับพระนาวผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้เวนราชสมบัติจากพระมารดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงรางราษฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตดกทาน คือ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาส หญิง โคนม และนางสนม อย่าง ๗๐๐ กัณฑ์วนประเวสน์ พระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา พระชาลีและพระกันหาพระโอรสพระธิดา เสด็จจากเมืองผ่านแคว้นเจตราษฏร์จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์ กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตดาเป็นภรรยา นางใช้ให้ไปขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฏร์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบเจตบุตร ลวงเจตบุตร ให้บอกทางไปยังเขาวงกต กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางตามที่เจตบุตรแนะจนถึงทีอยู่ของอัจจุตฤษี กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุจฤษี ให้บอกทางผ่านป่าใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพรพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีเสด็จกลับมาจากหาผลไม้ที่ป่า ออกติดตามสองกุมารตลอกคืน จนถึงทางวิสัญญีเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงพื้นแล้ว พระเวสสันดรเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมาร พระนางทรงอนุโมทนาด้วย กัณฑ์สักกบรรพ พระอินทร์ทรงเกรงว่าจะผู้ที่มาพระนางมัทรีไปเสีย ทรงเปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลของพระนางมัทรีแล้วฝากไว้ที่พระเวสสันดร กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าแคว้นสีวีราษฎร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระราชทานเลี้ยง และถึงแก่กรรมด้วยการบริโภคอาหารมากเกินควร กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสัญญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกันหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับ เมื่อกษัตริย์หกพระองค์ทรงพบกัน ก็ทรงวิสัญญี ต่อฝนโบกขพรรษตก จึงทรงฟื้นขึ้น กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข ตัวอย่างบางตอนนางมัทรีโศกถึงชาลีกัณหา หํสาวดุจหงษโปฏก กระเหว่าเล่านนก พลัดแม่สูญหาย อุปริปลฺลเลตกต่ำติดตม อดนมปางตาย ดุจแก้วแม่หาย ไม่คอยมารดา เต มิคา วิย อุกกณฺณาหนึ่งบุตรเนื้อทราย มิโรทกบวย ทรามรักษาเสนหา สมนฺตามฺมภิธาวิโนยกหูชูคอ คอยถ้ามารดา เห็นแม่กลับมา วิ่งเข้า เชอยชม อานนฺทิโน ปมุทิตาวิ่งซ้ายวิ่งเข้ามา ชมรอบมารดา แล้วเข้ากินนม วคฺคมานาว กมฺปเรลองเชองเรองไป ให้แม่ชื่นชม ให้ลืมอารมณ์ ดุจสองพงงงา ตฺยชฺช ปตฺเต น ปสฺสามิ พระแก้วแม่เอย บุรโพ้นย่อมคอย คอนรับมารดา ชาลิง กณฺหาชินํ จุโภวนนี้ไปไหน ไม่รู้เห็นหา โอ้สองพงงงา กัณหาชาลี มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง เป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทยเล่มแรก ที่ปรากฏหลักฐานเหลืออยู่ มีใจความใกล้เคียงกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี แสดงถึงความสามารถในการแปลและเรียบเรียงข้อความ การแทรกบาลีลงไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้ฟังยากจนต้องมีการแต่งกาพย์มหาชาติขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งซ่อมใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตโกสินทร์ นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เป็นกวีหลายท่านช่วยกันแต่ง จึงมีสำนวนโวหารและถ้อนคำไพเราะเพราะพริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรสวรรณคดีหลายประการ เช่น ความโศก ความอาลัยรัก ความน้อยใจ และความงามของธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางด้านภาษา ทำให้ทราบคำโบราณ คำแผลง และภาษาต่างประเทศ เช่น สันสกฤต และเขมรเป็นต้น มหาชาติคำหลวงแสดงถึงความเลื่อมใสในพุทธศาสนา และความเชื่อในบุญกุสลที่เกิดจากฟังเทศน์เรื่องมหาชาติของคนไทยสืบต่อมาจากสุโขทัย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง การโปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง ก็เทียบได้พญาลิไททรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงความเชื่อและประเพณี พุทธศาสนิกนิยมฟังเทศน์มหาชาติกันมากเพราะเชื่อว่า ๑. เป็นพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ประทานแก่ภิกษุและพุทธบริษัทที่เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นกุศลราศรีแก่ผู้แสวงบุญ ๒. เชื่อกันว่า ผู้ที่ต้องการมาเกิดในศาสนาของพระศรีอาริยเมตตไตย จะต้องฟัง มหาชาติคำหลวง หรือเวสสันดรชาดกอันประกอบด้วยคาถาพันให้จบภายในราตรีเดียว และยังมีหลักฐานปรากฏว่า มหาชาติมีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย เพราะศิลาจารึกนครชุม พ.ศ. ๑๙๐๐ มีข้อความจารึกว่า ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่ามหาชาติคนสวดแลมิได้เลย และจารึกวัดป่ามะม่วง สรรเสริญพระเจ้าลิไท เมื่อทรงผนวชว่า (พ.ศ. ๑๙๕๐) ทรงประกอบด้วยทานบารมีคล้ายพระเวสสันดร๔.ลิลิตพระลอ ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดแห่ง ลิลิต เมื่อ พ.ศ. 2459 แต่งขึ้นอย่างประณีต งดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอยังเคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์ ในวรรณคดีประเภทลิลิตแล้ว ลิลิตพระลอนั้นนับว่าเป็นลิลิตที่มีศิลปะในการเรียบเรียงได้ไพเราะจับใจยิ่งนัก จนวรรณคดีสโมสรได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2459 ว่าลิลิตพระลอนั้นเป็นยอดในกระบวนกลอนลิลิตทั้งหลาย ในเพชรพระอุมานั้นมีการกล่าวถึงลิลิตพระลอในตอนที่คณะเดินทางได้พบกับเสือโคร่งดำหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าผีดิบมันตรัยนั่นเอง ระหว่างการเดินทาง เจ้าเสือโคร่งดำนั้นพยายามหลอกล่อให้รพินทร์ออกไปตามมัน เพื่อจะได้อยู่ห่างจากคณะจนทำให้ เชษฐาต้องเข้ามาเตือนรพินทร์และไม่ให้ออกจากขบวนเด็ดขาด ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เพื่อพิจารณาจากร่ายบทนำเรี่อง ซึ่งกล่าวสดุดีพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ที่ทรงมีชัยแก่ชาวลานนาที่ว่า "ฝ่ายช้างยวนแพ้พ่าย ฝ่ายช้างลาวประลัย ฝ่ายช้างไทยชัเยศคืนยังประเทศพิศาล"พอสันนิษฐานได้ว่าช่วงเวลาที่แต่งลิลิตพระลอ จะต้องอยู่ภายหลังการชนะศึกเชียงใหม่ครั้งใดครั้งหนึ่ง อาจเป็นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๒๐๑๗)หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๒๐๕) เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ ลิลิตพระลอแต่งด้วนลิลิต ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่นิยมใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย ส่วนในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมักแต่งโคลงฉันท์เป็นส่วนมาก เช่น โคลงเฉลิมพระเกีรยติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุทรโฆษคำฉันท์ และอนิรุทธ์คำฉันท์ ลิลิตพระลอยังใช้ภาษาเก่ากว่าภาษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น คำ "ชิ่นแล"และคำ "แว่น"ซึ่งเป็นคำทีมีใช้ในมหาชาติคำหลวงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากนี้หนังสือจินดามณี ของพระโหราธิบดี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ยกโทคลงในลิลิตพระลอเป็นตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่ว่า เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอยเสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้าสองขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฦาพี่สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ จากเหตุผลดังกล่าวพอสรูปได้ว่า ลิลิตพระลอ จะต้องแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพิจารณาโคลงบอกผู้แต่ง สองบทท้ายเรื่องที่ขึ้นต้นว่า "จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์"และ "จบเสร็จเยาวราชบรรจง"ทรงสันนิษฐานว่าลิลิตพระลออาจแต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน ในขณะที่ผู้แต่งยังเป็นพระมหาอุปราช ต่อมาพระมหาอุปราชพระองค์นั้นได้รับรัชทายาทเป็นพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อาจเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๓ สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ หรือ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรก็ได้ ส่วนเหตุผลที่ว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสันนิษฐานคำ "มหาราชเจ้านิพนธ์"และ"สมเด็จเยาวเจ้าบรรจง"ในโคลงสองบทดังกล่าวว่า หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ และเจ้าฟ้าอภัยทศพระราชอนุชาทรงเขียน ทำนองแต่ง เป็นคำประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพเป็นส่วนใหญ่ บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่ายโบราณและร่ายดั้น ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย เรื่องย่อ เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอกษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นที่ต้องพระทัยพระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรกษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่นนางโรยพระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปูเจ้าสมิงพรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จมาเมืองสรวง เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และนางลักษณวดีมเหสี เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับนายแก้งนางขวัญพระพี่เลี้ยง พระลอทรงเสี่ยวน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรงผืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปูเจ้าสมิงพรายล่อพระลอกับนายขวัญและนายแก้วไปจนถึงสวนหลวง นางรื่นนางโรยออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วและนายขวัญไปไว้ในตำหนักของพระเพื่อนพระแพง ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ แต่พระเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาลพระลอ อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับพระลอ พระเพื่อนพระอพงและพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมดท้าวพิชัยพิษณุกรทรงพระพิโรธพระเจ้าย่าและทหาร รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์สาม ในที่สุดเมืองสรวงและเมืองสรองกัลเป็นไมตรีต่อกัน ตัวอย่างข้อความบางตอนบทโศก๑.พระนางบุญเหลือทรงรำพันเมื่อพระลอทูลลาเไปมืองสรอง คงชีพหวังได้พึ่ง ภูมี พ่อแลม้วยชีพหวังฝากผี พ่อได้ดังฤาพ่อจักลี- ลาจาก อกนาผีแม่ตายจักได้ ฝากให้ใครเผา ๒.ข้าราชการและประชาชนราษฎร์คร่ำครวญตอนพระลอลาจากเมือง เสียงโหยเสียงไห้มี เรือนหลวงขุนหมื่นมนตรีปวง ป่วยช้ำเรือนราษฎณ์ร่ำตีทรวง ทุกข์ทั่ว กันนาเมืองจะเย็นเป็นน้ำ ย่อมน้ำตาครวญ บทพรรณนาความรัก๑.ระหว่างชู้คู่ครอง คู่ครองกับแม่ พระลอคร่ำครวญที่แม่น้ำกาหลง ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ เมียตนเมียแล่พันฤาดล แม่ได้ทรงครรภ์คลอดเป็นคน ฤาง่า เลยนาเลียงยากนักท้าวไท้ ธิราชผู้มีคุณ๒.ชู้รัก พระลอตรัสต่อพระเพื่อนพระแพง เมืองกว้างช้างม้าซู่ ละเสีย อ่อนเอยเสียแม่เสียเมียมา สู้น้องเสียสนมดุจดวงพเยีย งามแง่ งามนามาแต่ตัวเข้าข้าง ข่ายท้าวทั้งสอง พี่พบน้องเพี้ยงแต่ ยามเดียวคือเชือกผสมสามเกลียง แฝดฝั้นดั่งฤาจะพลันเหลียว คืนจาก เรียมนาเจ้าจากเรียมจักกลั้น สวามกลั้นใจตาย คติธรรม๑.พระลอตรัสต่อพระนางบุญเหลือตอนที่เสด็จออกจากเมือง ใดใดในโลกล้วน อนิจจังคงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นาตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อรักษา ๒.นายแก้วนายขวัญกราบทูลเตือนพระสติแก่พระลอ ตอนเสด็จมาถึงชนบททอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศอันทุรกันดาร พระเอยอาบน้ำขุ่น เอาเย็นปลารผอกหมกเหม็นยาม ยากเคี้ยวรุกรุยราคจำเป็น ปางเมื่อ แคลนาอดอยู่เยี่ยวดิ้วเดี่ยว อยู่ได้ฉันใด ยามไร้เด็ดดอกหญ้า แซมผม พระเอยหอมบ่หอมทัดดม ดั่งบ้าสุกรมลำดวนชม เชยกลิ่น พระเอยหอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า กลิ่นแก้วติดใจ ๓. นายแก้วนายขวัญนางรื่นนางโรยกล่าวเตือนสติต่อกัน เพื่ออดใจไม่แสดงความรักต่อกันในตำหนับของพระเพื่อนพระแพง เป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อเจ้านายและสถานทที่สำคัญในตำหนักพระเพื่อนพระแพง เป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อเจ้านายและสถานที่สำคัญ เรานี้เราเผ่าผู้ ภักดีผิดเท่าธุลีกลัว เกลียดใกล้ผิผิดกึ่งเกศี แหน่งว่า ตายนาดีกว่าเป็นคนให้ ท่านชี้หลังตน วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ตัดสินให้ลิลิตพระลอเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิตวรรณคดีเรื่องนี้มีลักษณะเด่นหลายประการ โคลงเรื่องประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ตื่นเต้น สะเทือนใจตลอด มีตอนรัก ตอนสยดสยองการใช้ถ้อยคำและโวหารนับว่าคมคายยิ่งนัก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา ลิลิตพระลอได้เค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมือง แสดงถึงสภาพความเป็นไปของสังคมในเวลานั้นอย่างเด่นหลายประการในด้านการปกครองแสดงให้เห็นการปกครองแบบนครัฐ คือ เมือง เล็ก ๆ ตั้งเป็นอิสระแก่กัน อันเป็นลักษณะที่ปรากฏทั่วไปก่อนสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้เรื่องพระลอยังเป็นตัวอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศตกอยู่แก่ประมูขผู้เดียวเกี่ยวกับลัทธความเชื่อของสังคมก็ปรากฏเด่นชัดในด้านภูตผีปีศาจ เสน่ห์ยาแฝดโชคลาง ความฝัน และความชื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินพระพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ดังปรากฏในสุภาษิตพระร่วง ที่ว่า "อาสาเจ้าจนตัวตาย"สภาพสังคมทั่วไปที่เห็นได้จากวรรณคดีเรื่องนี้ได้แก่ การใช้ช้างทำสงครามและเป็นพาหนะ ความนิยมและขับร้อง และการบรรจุพระศพกษัตริย์ลงโลงทองแทนพระโกศอย่างในสมัยหลัง ลิลิตพระลอเป็นที่นิยมยกย่องมาช้านาน เช่น พระโหราธิบดีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ยกโคลงที่แต่งถูกแผนบังคับและมีความไพเราะจับใจอันเป็นคำของพระเพื่อนพระแพงตรัสแก่พระพี่เลี้ยงไปไว้เป็นแบบอย่างโคลงสี่สุภาพในหนังสือจินดามณี โคลงดังกล่าวคือ เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอยเสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้าสองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีแบบฉบับ คือ เป็นแบบครูที่วรรณคดีในสมัยหลังนิยมเลียนอย่างในการพรรณนาและบรรยายขยายความ เช่น ลิลิตเพชรมุฏ และลิลิตตะเลงพ่ายคุณค่าของลิลิตพระลอ1. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่าคุณค่าของลิลิตพระลอ “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ” แปลความว่า มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง 1. ในด้านพระศาสนา ได้ให้แง่คิดทางศาสนา อย่างเช่น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้ คือเงาติดตัวตรังตรึง แน่นอยู่นา ตามแต่บุญบาปแล ก่อเกื้อรักษา หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม ถึงกรรมจักอยู่ได้ ฉันใด พระเอย กรรมบ่มีมีใคร ฆ่าเข้า กุศลส่งสนองไป ถึงที่ สุขนา บาปส่งจำตกช้า ช่วยได้ฉันใด 1. ในด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็รอิสระ เป็นใหณ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้ 2. ในด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่ 3. ในด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสย ๕.โคลงกำสรวล ผู้แต่ง เคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าศีปราชญ์ผู้แต่งโคลงกำสรวลถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราช ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และหญิงที่ศรีปราชญ์คร่ำครวญอาลัย คือ พระสนมศรีจุฬาลักษณ์ แต่มีผู้ออกความเห็นค้านความเชื่อดังกล่าวว่าเรื่องโคลงกำสรวล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงเส้นทางการเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปสุดแค่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ทั้งไม่ได้กล่าวถึงความทุกข์ร้อนและมูลที่ต้องเนรเทศ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้โคลงกำสรวลน่าจะแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ทำนองแต่ง แต่งด้วยโคลงตั้งบาทกุญชร บทแรกเป็นร่ายดั้น มีร่าย ๑ บท โคลงดั้น ๑๒๙ บท ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงความอาลัยคนรัก ซึ่งผู้แต่งต้องจากไป เรื่องย่อ เริ่มด้วยร่ายสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่ารุ่งเรืองงดงาม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎร์สมบูรณ์พูนสุข ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใดเดินทางผ่านตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำลบที่ผ่าน เช่น บางกะจะ เกาะเรียน ด่านขนอน บางทรนาง บางขดาน ย่านขวาง ราชคราม ทุ่งพญาเมือง ละเท เชิงราก นอกจากนี้ได้นำบุคคลในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่พบได้นางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดีเหล่านั้น โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา พระสูตรธนู(สุธนู)กับนางจิราประภา และพระสมุทรโฆษกกับนางพิษทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึงนครศรีธรรมราช ตัวอย่างข้อความบางตอนชมเมืองอยุธยายศยิ่งฟ้า ลงดิน แลฤาอำนาจบุญเพรงพระ ก่อเกื้อเจดียลอออินทร ปราสาทในทาบทองแล้วเนื้อ นอกโสม พรายพรายพระธาตุเจ้า จยนจันทร์ แจ่มแฮไตรโลกยเลงคือโคม ค่ำเช้าพิหารรบยงบรรพ รุจิเรข เรืองเฮทุกแห่งห้องพระเจ้า น่งงเนืองฝากนาง โฉมแม่จกฝากน่านน้ำ อรรณพ แลฤาอินทรท่านทอดโฉมเอา สู่ฟ้าโฉมแม่จกฝากดิน ดินท่าน แล้วแฮดินฤาขดดเจ้าเหล้า สู่สํสองสํ โฮมแม่ฝากน่านน้ำ อรรณพ แลฤายยวนาคเชอยชํอก พี่ไหม้โฉมแม่รำพึงจบ ไตรโลกโฉมแม่ใครสงวนได้ เท่าเจ้าสงวนเอง โคลงกำสรวลเป็นงานนิพนธ์เรื่องเอกของศรีปราชญ์ มีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยอดเยี่ยมถ้อยคำสำนวนโวหารที่คมคายจับใจ แสดงความเป็นต้นคิดหลายตอน ทำให้กวีรุ่นหลังพากันเลียมแบบอย่าง เช่น ตอนชนเมือง และตอนฝากนาง นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ บางเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ สมุทรโฆษ ในด้านภาษา โคลงกำสรวลใช้คำที่เป็นภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรอยู่มาก โคลงกำสรวลแสดงให้เห็นความวิจิตตระการของปราสาทราชวัง และวัดวาอารามของกรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านการแต่งกาย อาหารการกิน การเล่นรื่นเริง และสภาพภูมิศาสตร์เส้นทางการเดินทางของกวีคุณค่าของหนังสือ 1. ด้านภาษาและสำนวนโวหาร โคลงกำสรวลเป็นหนังสือประเภทโคลงนิราศที่มีคำบาลี สันสกฤต คำเขมร และคำโบราณปนอยู่มาก เช่น สู่สมสองสม เขียนเป็น สู่สํสองสํ เสวยรมย์ เขียนเป็น เสวยรํย จัก เขียนเป็น จกก จึงอาจใช้เป็นแนวทางศึกษาค้นคว้าด้านภาษา และการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์และความหมายได้ นอกจากนั้น โคลงกำสรวลยังเป็นหนังสือที่ความไพเราะ มีสัมผัสในที่ ไพเราะยิ่ง สำนวนโวหารโลดโผนและคมคายน่าฟัง ชวนให้เกิดอารมณ์การใช้ถ้อยคำมีความหมายเด่นชัด กินความลึกซึ้ง การพรรณนาแจ่มแจ้ง ทำให้เกิดจินตภาพและยังรักษาข้อบังคับเคร่งครัดตามหลักฉันทลักษณ์ โวหารเปรียบเทียบดี เป็นตัวอย่างของวรรณคดีนิราศรุ่นหลัง 2. ด้านความรู้ ให้ความรู้หลายประการ คือ 2.1 ความรู้ทางวรรณคดี โคลงกำสรวลอ้างเรื่องรามายณะ สมุทธโฆษคำฉัน สุธนู นำตัวเอกในเรื่องที่มีใจความเมื่อจากนางมาเทียบกับความรักของตนและตอนพระรามจองถนน จึงทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ จึงทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ทางวรรณคดี 2.2 ความรู้ทางด้านธรรมชาติวิทยา ทำให้รู้จักนกและสัตว์ต่าง ๆ เช่น “โกกิลกรวิกอัยง ยูงยาง” (นกดุเหว่า นกการเวก นกเอี้ยง นกยูง นกยาง) “มงงกง ทุกงง ฉลาม แหนแห่” (ปลามังกง ปลาทุกัง ปลาฉลาม ว่ายมาเป็นฝูง ๆ) 2.3 ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และตำนานของสถานที่ เช่น เกาะตำแย เพราะมีคำแยมาก ตำบลขอมตัดหวาย มีตำนานว่าขอมตัดหวายแล้วถูกหวายพุ่งลงมาแทงตายที่นั่น เป็นต้น 2.4 ความรู้ด้านศิลปกรรม กล่าวถึงความรุ่งเรืองของศิลปกรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีปราสาทราชวังที่งดงาม เป็นต้น 3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม 3.1 ความเจริญรุ่งเรืองของศาสนา ทำให้เห็นความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา 3.2 สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้เห็นความเป็นอยู่ของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอยต้น ตลอดจนการทำมาหากิน ดังโคลงว่า
ด้าวหันนอเนกซื้อ
ขนขาย
อรอ่อนแลวงคอด
ค่าพร้าว
หมากสุกชระลายปลง
ปลิดใหม่
มือแม่ค้าล้าวล้าว
แล่นชิงโชรมชิง(ความว่า ที่ตำบลนั้นมีการซื้อขายและขนสินค้ากันมาก เห็นแต่มือขวักไขว่และเสียงคิดราคามะพร้าวกันเซ็งแซ่ มีหมากสุกเอามาจากต้น และปลิดมาใหม่ ๆ พวกแม่ค้ามือสับสนเพราะรีบชิงกันมาซื้อและรุมกันซื้อ) 4. ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น โคลงกำสรวลเป็นแบบฉบับของการเขียนโคลงนิราศของกวีสมัยหลัง โดยเฉพาะกวีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะเลียนแบบการชมเมือง การฝากนาง สารสั่ง เป็นต้น เช่น นายนรินทรธิเบศร์เขียนนิราศนรินทร์ พระยาตรัง เขียนนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย ก็เลียนแบบโคลงกำสรวล ดังตัวอย่างต่อไปนี้
อยุธยายศยิ่งฟ้า
ลงดิน แลฤา
อำนาจบุญเพรงพระ
ก่อเกื้อ
เจดีลอออินทร
ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ
นอกโสรม

(โคลงกำสรวล)
อยุธยาล่มแล้ว
ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงห์หาสน์ปรางค์รัตน์บรร-
เจิดแล้ว
บุญเพรงพระหากสวรรค
ศาสตร์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า
ฝึกพื้นใจเมือง

(นิราศนรินทร์)


โฉมแม่จกกฝากฟ้า
เกรงอินทร หยอกนา
อินทรท่านเทอกเอา
สู่ฟ้า
แมแม่จกกฝากดิน
ดินท่าน แล้วแฮ
ดินท่านขดดเจ้าหล้า
สู่สํสองสํ

(โคลงกำสรวล)
โฉมแม่จะแหวกฟ้า
ฝากพรหม เมศฤษ
เกรงจะชมฌานเมิน
แม่ไว้
จะฝากอิศวรกรม
ไกรลาศ
ไฟราคร้อนเหล้าไท้
ทั่วแหนง

(นิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย)๖.โคลงทวาทศมาสโคลงทวาทศมาส แปลว่าโคลง12เดือนเพราะว่าโคลงนี้เป็นการเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ในแต่ละเดือนทั้ง 12 เดือน มาประพันธ์ ผู้แต่ง พระเยาวราช ขุนพรมมนตรี ขุนกวีราช ขุนสารประเสริฐ ประวัติ หนังสือนี้มีการสันนิษฐานผู้แต่งต่างกันไป เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าผู้แต่ง คือ ขุนศรีกวีราช ขุนพรหมมนตรี และขุนสารประเสริฐ บางท่านว่า พระเยาวราช ทรงนิพนธ์ ที่เหลือช่วยแก้ไข ส่วนพระยาตรังคภูมิบาล และนายนรินทรธิเบศร กล่าวแต่เพียงสามคนร่วมกันแต่ง ทำนองแต่ง แต่งเป็นโคลงดั้นวิวิธมาลี 260 บท และร่ายดั้นอีก 1 บทตอนท้าย ความมุ่งหมาย แต่งเพราะความมุ่งหมาย 2 ประการ คือ1. เพื่อเป็นการประชันฝีมือของนักกวีด้วยกัน2. เพื่อเป็นการยอพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ สาระสำคัญ เริ่มต้นด้วยการกล่าวสดุดีพระพรหมเทพเจ้าของชาวฮินดู พระพรหมประทับอยู่บนอาสนะ จากนั้นก็เกิดพระรัตนตรัย กล่าวคือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็นการแสดงความเทิดทูลพระพุทธศาสนา ต่อไปเป็นการสรรเสริญพระมหากษัตริย์ ชมความงามของหญิงคนรัก เปรียบความรักของตนกับบุคคลในวรรณคดีอย่างพระอนิรุทธ พระสุธน พระสูตรธนู และพระสมุทรโฆษ เป็นต้น แล้วแสดงความน้อยใจที่พระเอกนางเอกในวรรณคดีเหล่านั้นได้ไปอยู่รวมกัน ส่วนตัวเองมีแต่ต้องรอคอยต่อไป รู้สึกให้อาลัยอาวรณ์ที่ต้องจากนาง จากนั้นก็รำพันถึงเหตุการณ์ ลมฟ้าอากาศในรอบเดือนหนึ่ง ๆ โดยเริ่มต้นจากเดือนห้าจนถึงเดือนสี่ว่าไปจบครบ 12 เดือน พรรณนาปนเปกันไปกับความรัก มีการพูดถึงเทศกาลงานพิธีต่าง ๆ ที่มีในแต่ละเดือน ตอนสุดท้ายเป็นการถามข่าวคราวของนางจากปี เดือน วัน ยาม แล้งขอพรจากเทพยดาขอให้ได้พบนางอันเป็นที่รัก จบลงด้วยการสรรเสริญพระบารมีของพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักยิ่งเหนือสิ่งอื่นใด แล้วก็บอกชื่อคนแต่ง เรื่องย่อ โคลงเรื่องนี้ได้ชื่อว่าทวาทศมาส เพราะพรรณนาถึงความรักความอาลัยรัก และพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบสิบเดือน ทวาทศมาสแปลว่าสิบสองเดือน ตอนต้นสรรเสริญเทพเจ้า และพระเจ้าแผ่นดิน ชมความงามของนางที่ต้องจากมา กล่าวถึงบุคคลในวรรณคดี เช่น พระอนิรุทธ์ พระสมุทรโฆษ พระสุธนู พระสูตรธนู แล้วแสดงความน้อยใจที่ตนไม่อาจไปอยู่ร่วมกับนางอีกอย่างบุคคลเหล่านั้น ตอนต่อไปนำเหตุการณ์ต่าง ๆ และลมฟ้าอากาศในรอบปีหนึ่งๆ ตั้งแต่เดือน ๕ ถึง เดือน ๔ มาพรรณนา เดือนใดมีพิธีอะไรก็นำมากล่าวไว้ละเอียดละออ เช่น เดือนสิบเอ็ดมีพิธีอาศวยุช เดือนสิบสองมีพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เดือนยี่ประกอบพิธีตรียัมปวาย และเดือนสี่กระทำพิธีตรุษ เป็นต้น ต่อจากนั้นถามข่าวคราวของนางจาก ปี เดือน วัน และยาม ขอพระเทพเจ้าให้ได้พบนาง ตอนสุดท้ายกล่าวสรรเสริญพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน วรรณคดีเรื่องนี้ นอกจากประกอบด้วยรสกวีนิพนธ์ดังกล่าวมาแล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง โดยบรรยายสภาพดินฟ้าอากาศและกิจพิธีต่าง ๆ ในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น รามเกียรติ์ อนิรุทธ์ สมุทรโฆษ สุธน สูธนู เป็นต้นคุณค่าของโคลงทวาทศมาส1. ในด้านอักษรศาสตร์ โคลงบทนี้มีสำนวนกวีที่ไพเราะมากใช้ถ้อยคำสำนวนพรรณนาถึงความรักได้อย่างซาบซึ้งตรึงใจ หนังสือเรื่องอื่น ๆ เขาจะใช้สถานที่มาเปรียบเทียบกับความรัก แต่เรื่องนี้กลับใช้เหตุการณ์และฤดูที่เกิดขึ้นใหม่ในเดือนต่าง ๆ มาเปรียบเทียบแทน ซึ่งทำให้นักกวียุคหลังยังต้องเอาตามอย่าง 2. ในด้านวรรฒนธรรมประเพณี ทำให้รู้ถึงว่าชาวไทยนั้นจะมีประเพณีทุกเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือพระราชพิธี 12 เดือน คนเรายิ่งมีอะไรเป็นของตนได้ ก็ยิ่งน่าภาคภูมิใจ 3. ในด้านวิถีชีวิต ทำให้ได้รู้เห็นถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยนั้น ในเรื่องการทำมาหากิน อย่างสมัยนั้น จะมีการไถนาปลูกข้าวกันในเดือนหก ยังมีการทำบุญ การจัดมหรสพต่าง ๆ อันเป็นการเฉลิมฉลองเป็นสิ่งที่คนไทยนิยมมาแต่โบราณ 4. ในด้านศาสนา จะเห็นว่าอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของอินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาก ดังจะเห็นว่ามีการกล่าวถึงเทพเจ้าต่าง ๆ มากมาย เช่น พระพรหม พระนารายณ์ พระอินทร์ เป็นต้น๗.โคลงหริภุญไชย โคลงหริภุญไชย เป็นโคลงนิราศที่เก่าแก่เรื่องหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าแต่งในสมัยไหน บางท่านว่าแต่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ในราว พ.ศ. 2181 บางท่านว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ในราว พ.ศ. 2060 ผู้แต่ง สันนิษฐานทีผู้แต่งคนหนึ่ง อาจชื่อทิพ หรือศรีทิพ แต่งไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดออกมาเป็นภาษาไทยกลางอีกตอนหนึ่ง ประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่าอาจเป็นประมาน พ.ศ.๒๑๘๐ หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่พระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ราวศักราชสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และกวีทางใต้คงนำมาดัดแปลงราวศักราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร ได้ศึกษาโคลงเรื่องนี้โดยเทียบกับต้นฉบับภาษาไทยเหนือที่เชียงใหม่และลงความว่าจะแต่งขึ้นในสมัย พ.ศ.๒๐๖๐ ตรงกับรัชกาลสมเด็จ-พระรามาธิปดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเวลาที่พระแก้วมรกตยังอยู่ที่เจดีย์เชียงใหม่ เนื่องจากนิราศเรื่องนี้กล่าวถึงพระแก้วมรกตไว้ด้วย ทำนองแต่ง เดิมแต่งไว้เป็นโคลงไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดเป็นโคลงสุภาพ ความมุ่งหมาย ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระธาตุหริภญชัย ที่เมืองหริภุญชัย(ลำพูน)ก่อนออกเดินทางไปนมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ขอพระพระมังราชหรือ พระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลาเทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอด จนถึงเมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุ สมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่ นอกจากนี้วรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานยืนยันถึงที่ตั้งปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่เชียงใหม่และลำพูน กล่าวถึงการเล่นมหรสพต่างๆ ในสมัยโบราณ และวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น สุธนู สมุทรโฆษ พระรถเมรี เป็นต้น สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญขอ งโคลงหริภุญชัย ไว้ในฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ว่า "อาจเป็นต้นแบบอย่างของนิราศที่แต่งเป็นโคลงและกลอนกันในกรุงศรีอยุธยาตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ ถ้ามิได้เป็นแบบอย่างก็เป็นนิราศชั้นเก่าที่สุด" คุณค่าของโคลงหริภุญชัย
1. ในด้านอักษรศาสตร์ ใช้ถ้อยคำพรรณนาที่ไพเราะมาก มีคำสัมผัสไพเราะ มีภาษาต่าง ๆ ปะปนอยู่หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลีสันสกฤต เขมร ไทยเหนือ และภาษาโบราณ ที่สำคัญมีการถือกันว่าโคลงหริภุญไชยถือเป็นโคลงนิราศเรื่องแรกที่มีอิทธิพลต่อการแต่งนิราศในยุคต่อ ๆ มา 2. ในด้านโบราณคดี ทำให้รู้เรื่องราวของพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อย่างพระพุทธสิหิงค์ พระแก้วมรกต ได้รู้ว่ามีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งมีอยู่ทางภาคเหนือ อย่างเช่น พระธาตุหริภุญไชย วัดพระสิงห์ วัดกุฏารามซึ่งปัจจุบันคือวัดเจดีย์หลวง เป็นต้น3. ในด้านวิถีชีวิต ทำให้รู้เรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นที่มีความศรัทธาใน พระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ผู้คนใช้ชีวิตอย่างสงบ4. ในด้านพระศาสนา แสดงให้เห็นว่าผู้คนในสมัยนั้นมีพระศาสนาเป็นที่พำนัก เป็นสรณะที่พึ่ง เวลาไปไหนมาไหน เป็นต้องไหว้พระก่อน เพื่อความสบายใจในการเดินทาง เพื่อให้การเดินทางเป็นไปโดยสวัสดิภาพ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เห็นแล้วว่ามีเนื้อหาที่ดีมากเลย
เหมาะในการหางานมาก
น่าจะแบ่งเป็นตอนน่าจะดีมาก